วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กติกาและเทคนิคการเล่นสควอช

เกมสควอช 
          
สควอชเป็นเกมกีฬาระหว่างผู้เล่น คนประเภทที่ต้องใช้ไม้แร็กเกต ลูกบอลมาตรฐาน และเล่นในคอร์ตซึ่งเป็นคอร์ตตามขนาด และมาตรฐานที่สหพันธ์กีฬาสควอชนานาชาติ (ISRF) กำหนด

การตัดสิน
          
การแข่งขันจะตัดสินให้ผู้ได้คะแนนนำ ใน เกม หรือ ใน เกมเป็นผู้ชนะก็ได้แล้วแต่ผู้จัดจะกำหนดแต่ละเกมจะเล่นถึง แต้ม โดยผู้ชนะในแต่ละเกมคือ ผู้ที่ทำแต้มได้ถึง แต้มก่อนยกเว้นกรณีที่ได้ แต้มเท่ากันในกรณีนี้ ผู้รับลูกมีสิทธิ์เลือกก่อนที่จะมีการเสิร์ฟต่อไปว่าจะเล่นถึง 9 แต้ม (No Set) หรือ 10 แต้ม (Set Two) ถ้าเลือก 10 แต้ม ก็จะเล่นต่อไปอีก แต้มโดยผู้ชนะ แต้มก่อนจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น
          
ในการเลือกว่าจะเล่นต่อไปถึง แต้ม หรือ 10 แต้มผู้รับจะต้องแสดง ความจำนงให้ชัดเจนกับกรรมการผู้นับแต้ม กรรมการผู้ตัดสินและคู่แข่งขัน
          กรรมการผู้นับแต้มจะขาน "No Set" หรือ "Set Two'"ก่อนที่จะให้เล่นเกมต่อไป

การนับแต้ม 
          
ฝ่ายเสิร์ฟลูกเท่านั้นที่มีสิทธิ์ได้แต้ม ถ้าผู้เสิร์ฟชนะการตีลูกก็จะได้ แต้มถ้าผู้รับชนะการตีลูกก็จะกลับมาเป็นฝ่ายเสิร์ฟ
               
การเสิร์ฟลูก 
     4.1 
สิทธิ์ในการเสิร์ฟลูกตัดสินโดยการหมุนแร็กเกตเสี่ยงทายหลังจากนั้นผู้เสิร์ฟจะคงสิทธิ์การเสิร์ฟลูกต่อไปจนกระทั่งเล่นลูกใดลูกหนึ่งพลาดคู่แข่งขันจึงจะกลับมาเป็นผู้เสิร์ฟลูกแทนสับเปลี่ยนไปเช่นนี้จนจบการแข่งขันในการเริ่มเกม 2 และเกมต่อไป ผู้ชนะในเกมที่ผ่านมาเป็นผู้เสิร์ฟก่อน
     4.2 
ในการเริ่มต้นแต่ละเกม ผู้เสิร์ฟลูกมีสิทธิ์เลือกช่องเสิร์ฟ (Box) และหลังจากนั้นก็จะต้องเปลี่ยนช่องเสิร์ฟทุกครั้งที่ได้แต้มนอกจากกรณีที่ต้องเล่นลูกใหม่ผู้เสิร์ฟลูกจะต้องเสิร์ฟจากช่องเสิร์ฟเดิม

     
หมายเหตุสำหรับกรรมการ
     
ถ้าผู้เสิร์ฟลูกเสิร์ฟผิดช่องเสิร์ฟหรือไม่แน่ใจว่าจะต้องเสิร์ฟจากช่องเสิร์ฟใด กรรมการผู้นับแต้มจะแจ้งให้ทราบ ถ้ากรรมการผู้นับแต้มแจ้งผิดหรือมีข้อพิพาท กรรมการผู้ตัดสินจะตัดสินว่าจะต้องเสิร์ฟจากช่องเสิร์ฟได้
     4.3 
ลูกเสิร์ฟที่ดีคือลูกที่เสิร์ฟโดยเท้าข้างหนึ่งของผู้เสิร์ฟอยู่ในช่องเสิร์ฟโดยไม่เหยียบเส้น และลูกที่ตีปล่อยลงมาหรือโยนขึ้นไปกลางอากาศโดยไม่ถูกกำแพงพื้นเพดานหรือสิ่งอื่นใดที่ห้อยลงมาลูกจะต้องโดนตีไปกระทบกำแพงหน้าระหว่างเส้นเสิร์ฟ (Cut Line) และเส้นออกบน (Out Line) และสะท้อนมาตกข้างหลังคอร์ต (ถ้าฝ่ายรับไม่ตีลูกกลางอากาศเสียก่อน) ในช่อง (Back Quarter) ตรงข้ามกับช่องเสิร์ฟ
     
ถ้าผู้เสิร์ฟปล่อยลูกหรือโยนลูกแล้วไม่ได้ตีลูกให้ปล่อยหรือโยนลูกใหม่
     
ผู้เล่นที่มีแขนเดียวให้ใช้แร็กเกตช่วยโยนลูกขึ้นไปกลางอากาศเพื่อเสิร์ฟลูกได้
     4.4 
ลูกเสิร์ฟที่ดีคือลูกที่ไม่มีผลให้ต้องเปลี่ยนเสิร์ฟตามกติกาข้อ 4.6
     4.5 
ลูกเสิร์ฟถือว่าเสียในกรณีต่อไปนี้                                                 
          4.5.1 
ในขณะที่เสิร์ฟลูก เท้าของผู้เสิร์ฟไม่แตะพื้นอยู่ในช่องเสิร์ฟ โดยไม่เหยียบเส้น บางส่วนของเท้าอาจอยู่เหนือเส้นโดยไม่แตะเส้นได้
          4.5.2 
ลูกที่เสิร์ฟโดนกำแพงหน้าต่ำกว่าหรือถูกเส้นเสิร์ฟแต่เหนือแผ่นสังกะสี
          4.5.3 
ลูกที่เสิร์ฟสะท้อนกลับมาตกก่อนถึงเส้นขวางคอร์ตหรือไม่ตกในช่อง (Back Quarter) ตรงข้ามกับช่องที่เสิร์ฟ นอกจากกรณีที่ผู้รับตีลูกกลางอากาศ
     4.6 
ผู้เสิร์ฟจะเสียสิทธิ์การเสิร์ฟให้กับคู่ต่อสู้ในกรณีต่อไปนี้
          4.6.1 
เสิร์ฟเสีย
          4.6.2 
ลูกที่ปล่อยลงมาหรือโยนขึ้นไปเพื่อเสิร์ฟโดนกำแพง พื้น เพดาน หรือสิ่งอื่นใดที่ห้อยลงมาก่อนเสิร์ฟ
          4.6.3 
ผู้เสิร์ฟตีลูกผิด
          4.6.4 
กรรมการผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เสิร์ฟตีลูกไม่ถูกต้อง
          4.6.5 
ลูกที่เสิร์ฟโดนกำแพงหน้าต่ำกว่าแผ่นสังกะสีหรือลูกออก หรือโดนส่วนอื่นของ คอร์ตก่อนโดนกำแพงหน้า
          4.6.6 
ลูกที่เสิร์ฟโดนผู้เสิร์ฟหรือเสื้อผ้าที่ใส่หรือสิ่งของที่ถืออยู่ก่อนกระทบพื้นมากว่าหนึ่งครั้งหรือก่อนที่ผู้รับตีลูก
          4.6.7 
ผู้เสิร์ฟจะต้องไม่เสิร์ฟ จนกว่ากรรมการผู้นับแต้มจะขานแต้มเสร็จ
     
หมายเหตุสำหรับกรรมการ
     กรรมการผู้นับแต้มจะต้องไม่ขานแต้มช้าเกินไปถ้าผู้เสิร์ฟ เสิร์ฟหรือพยายามเสิร์ฟก่อนการขานแต้มกรรมการผู้ตัดสินจะสั่งให้หยุดเล่นและให้ผู้เสิร์ฟรอจนกว่ากรรมการผู้นับแต้มจะขานแต้มเสร็จ
               
               
 การเล่น 
         
หลังจากฝ่ายเสิร์ฟได้เสิร์ฟลูกดีไปแล้ว ฝ่ายรับจะตีลูกผลัดกันกับฝ่ายเสิร์ฟ จนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถรับลูกได้ หรือกรรมการผู้นับแต้มหรือกรรมการผู้ตัดสินสั่งให้หยุดเล่นตามกติกาข้อหนึ่งข้อใด

การรับลูก
     6.1 
การรับลูกถือว่าดี ถ้าผู้รับตีลูกกลับไปก่อนลูกจะกระทบพื้นเกินกว่าหนึ่งครั้ง และลูกโดนกำแพงหน้าสูงกว่าแผ่นสังกะสี โดยไม่โดนพื้นหรือตัวผู้เล่นหรือเสื้อผ้าของผู้เล่น ไม้แร็กเกตหรือตัวผู้แข่งขันหรือเสื้อผ้าของผู้แข่งขัน และลูกไม่ออก
     6.2 การรับลูกจะไม่ถือว่าดี ถ้าลูกโดนแผ่นสังกะสีก่อนหรือหลังโดนกำแพงหน้าก่อนกระทบพื้น หรือถ้าไม้แร็กเกตไม่อยู่ในมือผู้เล่นขณะที่กระทบลูก
               
ลูกที่ให้เล่นใหม่ (Let)
          
ลูกที่ให้เล่นใหม่คือลูกที่ไม่สามารถตัดสินได้ลูกที่ต้องเล่นใหม่จะไม่นับแต้มและผู้เสิร์ฟจะต้องเสิร์ฟอีกครั้งจากช่องเสิร์ฟเดิม

การชนะแต่ละลูก 
          
ผู้เล่นจะชนะลูกหนึ่งลูกใดในกรณีต่อไปนี้
     8.1 
ตามกติกา ข้อ 4.6 ในกรณีที่ผู้เล่นเป็นผู้รับลูก
     8.2 
คู่ต่อสู้ไม่สามารถตีลูกกลับไปได้ นอกจากกรณีที่ได้เล่นใหม่หรือกรรมการให้ชนะในลูกนั้น
     8.3 
ลูกโดนคู่แข่งขันหรือเสื้อผ้าของคู่แข่งขันหรือสิ่งของที่คู่แข่งขันถืออยู่ในกรณีที่คู่แข่งไม่ได้เป็นผู้ตีลูก นอกจากกรณีตามกติกาข้อ 9, 10 และ 13.1.1
     8.4 
กรรมการผู้ตัดสิน ตัดสินให้ชนะในลูกนั้นตามกติกา

การตีลูกไปถูกคู่แข่งขัน
          
ถ้าลูกก่อนที่จะถึงกำแพงหน้าโดนคู่แข่งขันไม้ของคู่แข่งขันเสื้อผ้าของคู่แข่งขันหรือสิ่งของที่คู่แข่งขันถืออยู่จะต้องหยุดเล่น
     9.1 
นอกจากกรณีที่กติกาข้อ 9.2 มีผลบังคับผู้ตีลูกจะชนะในลูกนั้นถ้าลูกที่ตีนั้นเป็นลูกดีและกระทบกำแพงหน้าก่อนกระทบกำแพงอื่น
     9.2 
ถ้าลูกที่ตีจะเป็นลูกดีแต่ผู้ตีลูกหมุนตัวตามลูกหรือปล่อยให้ลูกผ่านตัวไป และหมุนตามลูกไปตีกรรมการต้องให้เล่นใหม่ทุกครั้ง

        
หมายเหตุสำหรับกรรมการ
        
ถ้าผู้ตีลูกหมุนตัวตามไปตีลูกที่ปล่อยให้ผ่านตัวไปแต่ไม่ตีลูกเพราะเกรงว่าจะโดนคู่แข่งขัน และกรรมการผู้ตัดสินเห็นว่าสามารถจะตีลูกดีกลับได้ ให้เล่นลูกนั้นใหม่
     9.3 
ถ้าลูกที่ตีโดนหรือจะโดนกำแพงอื่นและเป็นลูกดีต้องอนุญาตให้เล่นลูกนั้นใหม่ได้ นอกจากกรรมการผู้ตัดสินจะเห็นว่า ผู้ตีลูกโดนขัดขวางไม่ให้ชนะในกรณีนี้กรรมการผู้ตัดสินจะตัดสินให้ผู้ตีลูกชนะในลูกนั้น หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน
        
การให้ผู้เล่นชนะในลูกใดตามกติกาข้อ จะต้องไม่เป็นกรณีหมุนตัวตีลูกที่ผ่านตัวไปหรือพยายามตีซ้ำ
     9.4 ถ้าลูกที่ตีไม่เป็นลูกดี ผู้ตีจะเป็นผู้แพ้ในลูกนั้น

        
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน เมื่อผู้เล่นโดนลูกตามที่อธิบายในกติกาข้อ ให้กรรมการผู้ขานแต้มขาน 'Down' ให้กรรมการผู้ตัดสินพิจารณาทิศทางของลูกและให้คำตัดสินต่อไป
               
ผู้เล่นที่ตีลูกพลาดพยายามตีซ้ำได้ 
          
ลูกที่ตีผิดไปโดนคู่แข่งขันหรือไม้แร็กเกตหรือเสื้อผ้าของคู่แข่งขันหรือสิ่งของที่คู่แข่งขันถืออยู่ ถ้าในความเห็นของกรรมการผู้ตัดสิน
        10.1 
ผู้ตีสามารถตีลูกดีกลับไปได้ ต้องให้เล่นใหม่
        10.2 
ผู้ตีไม่สามารถตีลูกดีกลับไปได้ต้องให้แพ้ในลูกนั้นถ้าผู้แข่งขันพยายามตีลูกซ้ำตีโดนคู่แข่งหรือเสื้อผ้าของคู่แข่งขันหรือสิ่งของที่คู่แข่งขันถืออยู่โดยลูกนั้นจะเป็นลูกดีต้องให้เล่นใหม่ แต่ถ้าลูกนั้นจะเป็นลูกไม่ดีถึงแม้จะไม่โดนคู่แข่งขัน ก็ให้ผู้ตีแพ้ในลูกนั้น

การอุทธรณ์ 
          
ผู้เล่นสามารถอุทธรณ์การตัดสินของกรรมการผู้ขานแต้มได้ในทุกกรณี
          
การอุทธรณ์ต่อกรรมการผู้ตัดสินให้ใช้คำว่า Appeal Please ในกรณีให้หยุดเล่นจนกว่ากรรรมการผู้ตัดสินจะตัดสิน
          
ถ้ากรรมการผู้ตัดสินไม่เห็นด้วยกับข้ออุทธรณ์ คำตัดสินจะเป็นไปตามที่กรรมการผู้นับแต้มได้ขานไว้ถ้ากรรมการผู้ตัดสินไม่แน่ใจจะต้องให้มีการเล่นลูกนั้นใหม่นอกจากจะเป็นกรณีตามหมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสินข้อ ค และ ง ในกติกาข้อ 11.2.2
          
กรณีกรรมการผู้ตัดสินเห็นด้วยกับข้ออุทธณ์หรือกรรมการผู้ตัดสินเข้ามาตัดสินภายใต้ข้อ 20.4 ให้ตัดสินตามสถานการณ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน 
          
การชี้ไม่ใช่การอุทธรณ์ที่ถูกต้อง
     11.1 
การอุทธรณ์การเสิร์ฟ
        11.1.1 
ถ้ากรรมการผู้นับแต้มขาน "Fault", "foot fault" "not up" "down" หรือ "out" และกรรมการผู้ตัดสินเห็นด้วยกับข้ออุทธรณ์จะต้องให้ เล่นลูกนั้นใหม่
        11.1.2 
ถ้ากรรมการผู้นับแต้มไม่ขาน "fault, "foot fault" "not up" "down" หรือ "out" ผู้เสิร์ฟอาจจะอุทธรณ์ทันทีหรือเมื่อเล่นจบในลูกนั้น (ในกรณีได้ตีลูกหรือพยายามตีลูกกลับไป) ถ้ากรรมการผู้ตัดสินเห็นว่าเสิร์ฟไม่ดี ก็จะให้หยุดเล่นทันทีและให้ผู้รับลูกเป็นผู้ชนะในลูกนั้น
     11.2 
การอุทธรณ์ในกรณีอื่นนอกเหนือจากการเสิร์ฟ
        11.2.1 
ถ้ากรรมการผู้นับแต้มขาน "not up" หรือ "out" หลังจากผู้เล่นตีลูกกลับไปคู่แข่งขันมีสิทธิอุทธรณ์ถ้ากรรมการเห็นด้วยกับข้ออุทธรณ์ ก็จะให้เล่นลูกนั้นใหม่ นอกจากกรณีที่กรรมการผู้ตัดสินเห็นว่า
        -
การขานของกรรมการผู้นับแต้มทำให้ผู้เล่นที่ตีลูกไม่ชนะในลูกนั้น ในกรณีนี้จะต้องให้ผู้เล่นที่ตีลูก ชนะในลูกนั้น
        - 
การขานของกรรมการผู้นับแต้มทำให้คู่แข่งขันไม่ชนะในลูกนั้น ในกรณีนี้จะต้องให้คู่แข่งขันชนะในลูกนั้น หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน
        
ในกรณีหลัง กรรมการผู้ตัดสินจะต้องให้คู่แข่งขันเป็นผู้ชนะในลูกนั้น ถ้าไม่แน่ใจว่า กรรมการผู้นับแต้มขานถูก
        11.2.2 
ถ้ากรรมการผู้นับแต้ม งดเว้นการขาน "not up" หรือ "out" หลังจากที่ผู้เล่นตีลูกกลับไปแล้วคู่แข่งขันมีสิทธิ์อุทธรณ์ทันทีหรือเมื่อจบการเล่นในลูกนั้นในกรณีนี้ได้ตีลูกหรือพยายามตีลูกกลับไปถ้ากรรมการผู้ตัดสินเห็นด้วยกับการอุทธรณ์ ก็จะต้องให้หยุดการเล่นทันทีและให้คู่แข่งขันเป็นผู้ชนะในลูกนั้น หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน
        
ก. การอุทธรณ์ภายใต้กติกาข้อ 11 เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนการเสิร์ฟแต่ละครั้งทำไม่ได้
        
ข. กรณีที่มีการอุทธรณ์ในหลายประเด็นในลูกเดียวกัน (รวมทั้งการอุทธรณ์ ภายใต้กติกาข้อ 12 กรรมการผู้ตัดสินจะพิจารณาแต่ละข้ออุทธรณ์)
        
ค. กรณีที่กรรมการผู้นับแต้มขาน "not up" "down" หรือ "out" และต่อมาลูกนั้นออกหรือเสีย ถ้ากรรมการผู้ตัดสินเห็นด้วยกันข้ออุทธรณ์หรือไม่แน่ใจ ก็จะต้องพิจารณาตัดสินสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง
        
ง. ถ้ากรรมการผู้นับแต้มขานว่า ลูกเสิร์ฟ "fault" "not up" "down" หรือ "out" และต่อมาลูกนั้นออกหรือเสียถ้ากรรมการผู้ตัดสินเห็นด้วยกับข้ออุทธรณ์หรือไม่แน่ใจ ก็จะต้องพิจารณาตัดสินสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลัง

 การกีดขวาง
     12.1 
หลังจากตีลูก ผู้เล่นจะต้องเปิดทางให้คู่แข่งขันนั่นคือ
        12.1.1 
ให้คู่แข่งขันมองเห็นลูกได้ถนัด ชัดเจน
        12.1.2 
ไม่กีดขวางการเคลื่อนตัวของคู่แข่งขันเพื่อจะไปที่ลูก ในขณะเดียวกันคู่แข่งขันต้องพยายามเล่นลูกให้ได้
        12.1.3 
ผู้เล่นจะต้องหลีกเลี่ยงให้คู่แข่งขันเล่นลูกได้อย่างสะดวก หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน
     
ความสะดวกในการเล่นลูกรวมถึงการสามารถยกไม้ขึ้นเพื่อตีลูก และการตีลูกผ่านลูกพอสมควร
        12.1.4 
ผู้เล่นพยายามทุกวิถีทางที่จะหลีกเลี่ยงให้คู่แข่งขันสามารถตีลูกตรงไปที่กำแพงหน้าได้ ถ้าผู้เล่นไม่ปฏิบัติตามกติกาข้างต้น ให้ถือว่าการกีดขวางได้เกิดขึ้น
     12.2 
ถ้าการกีดขวางได้เกิดขึ้น ถ้ามีการอุทธรณ์หรือกรรมการผู้ตัดสินสั่งให้หยุดเล่นโดยไม่รอให้อุทธรณ์กรรมการผู้ตัดสินจะให้คู่แข่งขันเป็นผู้ชนะในลูกนั้น ถ้าอยู่ตำแหน่งที่จะตีลูกดีกลับมาได้

 
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน
        
ในทุกกรณีภายใต้กติกาข้อ 12 ถ้าผู้เล่นต้องการเล่นใหม่หรือคิดว่าลูกนั้นควรจะชนะให้อุทธรณ์ต่อกรรมการผู้ตัดสินโดยใช้คำว่า "let please" การอุทธรณ์ ควรอุทธรณ์ทันที
     12.3 
อย่างไรก็ตาม ถ้าการกีดขวางได้เกิดขึ้นแต่กรรมการผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นได้พยายามที่จะไม่ให้เกิดขึ้นและคู่แข่งขันสามารถที่จะตีลูกดีกลับไปได้ ถ้ามีการอุทธรณ์หรือได้มีการสั่งให้หยุดเล่นโดยไม่มีการอุทธรณ์ ก็จะต้องให้เล่นใหม่ นอกจากกรณีที่คู่แข่งขันโดนกีดขวางจนไม่สามารถตีชนะในลูกนั้นได้ ในกรณีลูกนั้นจะต้องให้คู่แข่งขันชนะ

 
หมายเหตุสำหรับกรรมการตัดสิน
        
ก. ผู้เล่นที่เล่นลูกทั้งๆ ที่โดนกีดขวางจะเสียสิทธิ์ในการอุทธรณ์
        
ข. ถ้าผู้เล่นโดนกีดขวางจากการกระทำของตนเองให้กรรมการผู้ตัดสินถือว่า ไม่มีการกีดขวาง
     12.4 
ในกรณีที่กรรมการผู้ตัดสินเห็นว่า ผู้เล่นไม่เล่นลูกซึ่งถ้าเล่นก็จะชนะ ภายใต้กติกาข้อ 9.1 หรือ 9.3 ลูกนั้นก็จะต้องให้ผู้เล่นชนะ ภายใต้กติกาข้อ 9.1 หรือ 9.3 ลูกนั้นก็จะต้องให้ผู้เล่นชนะ อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นการพยายามตีลูกซ้ำ จะต้องให้เล่นใหม่
     12.5 
ถ้าผู้เล่นโดนคู่แข่งขันโดยไม่จำเป็น กรรมการผู้ตัดสินอาจจะสั่งให้หยุดเล่น ถ้าการเล่นยังไม่หยุด และลงโทษผู้ผิดกติกาตามความเหมาะสม
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน 
        
ก. การไม่กีดขวาง ตามกติกาข้อ 12.12 รวมถึงการไม่เป็นสาเหตุให้คู่แข่งขันต้องรอตีลูก เนื่องจากวงสวิงหลังตีลูกที่กว้างเกินเหตุ
        
ข. ถ้าวงสวิงก่อนตีลูกก่อให้เกิดการกีดขวางโดยคู่แข่งขันได้พยายามทุกวิถีทางที่จะหลบ ถ้าทีการอุทธรณ์ก็จะต้องให้เล่นใหม่
        ค. ถ้ากรรมการเห็นว่า วงสวิงของผู้เล่นกว้างเกินไปและอันตราย ให้กรรมการผู้ตัดสินนำกติกาข้อ 17 มาบังคับใช้
               
การให้เล่นใหม่ 
          
นอกจากกรณีที่ต้องให้เล่นใหม่ ตามกติกาข้ออื่นๆ อาจจะให้เล่นใหม่หรือต้องให้เล่นใหม่ในกรณีอื่นบางกรณี
     13.1 
อาจให้เล่นใหม่
        13.1.1 
ตำแหน่งของผู้ตีลูกทำให้คู่แข่งขันไม่สามารถหลีกเหลี่ยงการโดนลูกก่อนตีลูกกลับได้ หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน กติกาข้อนี้ใช้กับกรณีที่ผู้ตีลูกอยู่หน้าคู่แข่งขันทำให้คู่แข่งขันไม่สามารถมองเห็นลูก หรือกรณีที่ผู้ตีลูกปล่อยให้ลูกผ่านใกล้ตัวและลูกโดนคู่แข่งขันซึ่งอยู่หลังผู้ตี ทั้งนี้กรรมการผู้ตัดสินยังคงมีหน้าที่บังคับใช้กติกาข้อ 12 โดยไม่ถือว่าขัดกับกติกาข้อนี้ 
        13.1.2 
ลูกโดนสิ่งของใดๆ ที่อยู่บนพื้น กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดูว่า ผู้เล่นไม่เอาของใดๆ ไว้บนพื้น
        13.1.3 
ผู้ตีลูกไม่ตีลูก เพราะเกรงว่า อาจจะเป็นอันตรายต่อคู่แข่งขัน หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน กรรมการผู้ตัดสินจะต้องการตีลูกกระทบกำแพงหลัง
        13.1.4 
กรรมการผู้ตัดสินเห็นว่า ผู้เล่นโดนรบกวนจากเหตุการณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะในหรือนอกคอร์ต
        13.1.5 
กรรมการผู้ตัดสินเห็นว่าสภาพของคอร์ตได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลต่อการแข่งขันในลูกนั้น
     13.2 
จะต้องให้เล่นใหม่
        13.2.1 
ผู้รับลูกเสิร์ฟไม่พร้อมจะเล่นและไม่ได้พยายามที่จะเล่นลูก
        13.2.2 
ลูกแตก ระหว่างการเล่น
        13.2.3 
กรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินการอุทธรณ์ได้
        13.2.4 
ลูกที่ตีกลับออกนอกคอร์ตหลังจากกระทบพื้นแล้ว
     13.3 
ถ้าผู้ตีลูกอุทธรณ์ขอให้เล่นใหม่ภายใต้กติกาข้อ 13.1 (2 ถึง 5) กรรมการจะให้เล่นใหม่ได้เฉพาะถ้าสามารถตีลูกดีกลับไปได้ เงื่อนไขนี้ไม่ใช้บังคับกรณีผู้อุทธรณ์ภายใต้กติกาข้อ 13.1.2, 13.1.4 และ 13.1.5 ไม่ใช่ผู้ตีลูก
     13.4 
ถ้าผู้เล่นพยายามตีลูก จะให้เล่นใหม่ภายใต้กติกาข้อ 13.1.3 และ 13.2.1 ไม่ได้ แต่อาจจะให้เล่นใหม่ภายใต้กติกาข้อ 13.1.2, 13.1.4, 13.1.5, 13.2.2, 13.2.3 และ 13.2.4 ได้
     13.5 
การอุทธรณ์
        13.5.1 
ผู้เล่นจะขออุทธรณ์การเล่นใหม่ภายใต้กติกาข้อ 13.1.3 (ผู้ตีลูกเท่านั้น) และ 13.2.3 กรรมการจึงจะสั่งให้เล่นใหม่ได้
        13.5.2 
ในกรณีของกติกาข้อ 13.1.2, 13.1.5, 13.2.2 และ 13.2.4 ผู้เล่นอาจอุทธรณ์หรือกรรมการผู้ตัดสินอาจเข้าไปตัดสินโดยไม่รอการอุทธรณ์ก็ได้
        13.5.3 เมื่อผู้เล่นโดนลูกตามลักษณะในกติกาข้อ 13.11 กรรมการ ผู้ตัดสินจะตัดสินโดยไม่รอการอุทธรณ์ว่าจะให้เล่นใหม่หรือจะให้คู่แข่งขันชนะในลูกนั้น

ลูก 
          
อาจเปลี่ยนลูกได้ในกรณีต่อไปนี้
     14.1 
ถ้าไม่ได้อยู่ระหว่างการเล่นลูก อาจเปลี่ยนลูกได้ด้วยความเห็นชอบ ของคู่แข่งขันทั้งสองคน หรือเมื่อผู้เล่นคนเดียวอุทธรณ์และกรรมการผู้ตัดสินใช้ดุลยพินิจสั่งให้เปลี่ยน
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน 
        
ผู้เล่นหรือกรรมการผู้ตัดสิน อาจตรวจดูสภาพของลูกได้ทุกเวลาที่ไม่ได้อยู่ระหว่างการเล่น
     14.2 
ลูกแตกระหว่างการเล่น ให้เปลี่ยนลูกใหม่ทันที



   
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน
        
กรรมการผู้ตัดสินเป็นผู้พิจารณาตัดสินว่าลูกแตกหรือไม่
     14.3 
ถ้าลูกแตกระหว่างเล่นแต่ไม่ทราบ จะต้องให้เล่นใหม่ ถ้าผู้เสิร์ฟ อุทธรณ์ก่อนเสิร์ฟลูกต่อไป หรือผู้รับอุทธรณ์ก่อนรับลูกต่อไป

   
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน
        
ถ้าผู้รับลูกเสิร์ฟอุทธรณ์ก่อนพยายามตีลูกกลับและกรรมการผู้ตัดสินเห็นว่าลูกแตกระหว่างเสิร์ฟจะให้เล่นใหม่เฉพาะในลูกนั้น แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าลูกแตกเมื่อไหร่ก็ควรจะให้เล่นใหม่ในลูกก่อนนั้น
     14.4 
กติกาข้อ 14.3 ไม่ใช้บังคับกับลูกสุดท้ายของเกมในกรณีการอุทธรณ์ ต้องทำทันทีหลังเล่นจบ
     14.5 ถ้าผู้เล่นหยุดเล่นและอุทธรณ์ว่าลูกแตกแต่ปรากฏว่าลูกไม่ได้แตกจริงให้ผู้อุทธรณ์นั้นแพ้ในลูกนั้น
               
การทำให้ลูกร้อน 
     15.1 
ก่อนเริ่มเล่นกรรมการผู้ตัดสินจะอนุญาตให้ผู้เล่นทั้งคู่ใช้เวลา นาที ในคอร์ตเพื่อทำให้ลูกร้อนพร้อมที่ใช้แข่งขัน
     
หลังจากสองนาทีครึ่งกรรมการผู้ตัดสินจะขาน "Half Time" เพื่อให้ ผู้เล่นเปลี่ยนข้างแต่ผู้เล่นอาจจะตกลงกันที่จะไม่เปลี่ยนได้ เมื่อหมดเวลากรรมการผู้ตัดสินจะเตือนผู้เล่นโดยขาน "Time"
     15.2 
ถ้ามีการเปลี่ยนลูกภายใต้กติกาข้อ 14 หรือเมื่อการแข่งขันเริ่มขึ้นใหม่ หลังจากที่ต้องหยุดเล่นไปนานพอสมควร กรรมการผู้ตัดสินจะอนุญาตให้ทำให้ลูกร้อนพร้อมที่จะเล่นและให้การเล่นเริ่มขึ้นใหม่เมื่อกรรมการผู้ตัดสินสั่งหรือเมื่อคู่แข่งขันตกลงกันแล้วแต่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก่อน
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน
        กรรมการผู้ตัดสินจะต้องดูแลให้การทำให้ลูกร้อนเป็นไปอย่างยุติธรรม (กติกาข้อ 15.1 และ 15.2) การทำให้ลูกร้อนอย่างไม่ยุติธรรมจะกล่าวถึงในกติกาข้อ 17
     15.3 
การทำให้ลูกร้อนระหว่างเกม สามารถทำได้นอกจากคู่แข่งขันจะคัด ค้าน ถ้าทีมการปฏิบัติผิดกติกาให้กรรมการผู้ตัดสินนำกติกาข้อ 17 มาใช้บังคับ

               
การแข่งขันอย่างต่อเนื่อง 
          
หลังจากเสิร์ฟลูกแรกแล้ว การแข่งขันจะต้องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องเท่าที่จะสารถกระทำได้ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
     16.1 
กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้หยุดเล่นเนื่องจากแสงไม่พอหรือสภาวะแวดล้อมอื่น นอกเหนือการควบคุมของผู้เล่น ให้กรรมการผู้ตัดสินเป็นผู้กำหนดระยะเวลาหยุดเล่น
        
เมื่อเล่นต่อให้นับแต้มต่อจากเมื่อตอนหยุดเล่น
        
ถ้ามีคอร์ตอื่นที่เล่นได้เมื่อคอร์ตเดิมไม่เหมาะสมที่จะใช้เล่นต่อไป ให้ย้ายการแข่งขันไปที่คอร์ตนั้น ถ้าผู้เล่นทั้งสองเห็นชอบหรือกรรมการผู้ตัดสินสั่ง
        
ถ้าต้องหยุดเล่นข้ามวันให้คงแต้มของผู้เล่นไว้ นอกจากผู้เล่นทั้งสอง จะตกลงกันให้เริ่มการแข่งขันและเริ่มนับแต้มตั้งต้นใหม่
     16.2 
ให้พัก 90 วินาทีทุกเกม ระหว่างพักอยู่เล่นออกจากคอร์ตได้ แต่ต้องพร้อมที่จะเล่นต่อ เมื่อสิ้นสุดเวลาที่กำหนดเมื่อเหลือเวลาพัก 15 วินาทีกรรมการผู้ตัดสินจะขาน "Fifteen second" และแจ้งให้ผู้เล่นเตรียมพร้อมที่จะเล่นต่อเมื่อหมด เวลาให้กรรมการผู้ตัดสินขาน "Time"
        
ผู้เล่นทั้งสองอาจตกลงเริ่มเล่นต่อก่อนสิ้นสุด 90 วินาทีของเวลาพักได้
        
เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องอยู่ในระยะที่จะได้ยินการขาน "Fifteen second" และ "Time"
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน 
        
ก. ถ้าผู้เล่นคนหนึ่งไม่พร้อมจะเล่นเมื่อกรรมการผู้ตัดสินขาน "Time" ให้นำกติกาข้อ 17 มาบังคับใช้
        
ข. ถ้าผู้เล่นทั้งสองคน ไม่พร้อมจะเล่นเมื่อกรรมการผู้ตัดสินขาน "Time" แล้วให้กรรมการผู้ตัดสินนำกติกาข้อ 17 มาใช้บังคับทั้งคู่
     16.3 
ถ้าผู้เล่นแสดงกับกรรมการผู้ตัดสินว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์หรือ เสื้อผ้า หรือถุงเท้า ก็จะต้องออกจากคอร์ต การเปลี่ยนจะต้องทำโดยเร็วที่สุด และกรรมการผู้ตัดสินจะให้เวลาไม่เกิน นาที ถ้าหมดเวลาแล้วยังไม่กลับมา กรรมการผู้ตัดสินจะนำกติกาข้อ 17 มาบังคับใช้
     16.4 
ถ้าเกิดการบาดเจ็บ กรรมการผู้ตัดสินจะพิจารณาว่า
        16.4.1 
เป็นการกระทำของผู้เล่นเองหรือไม่
        16.4.2 
คู่แข่งขันมีส่วนทำให้เกิด หรือเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุหรือไม่
        16.4.3 
เป็นผลจากการกระทำโดยตั้งใจหรือจนการเล่นอย่างอันตรายของคู่แข่งขันหรือไม่
       
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน
       
ก. ในข้อ 16.4.2 และ 16.4.3 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องแน่ใจว่า ได้เกิดการบาดเจ็บจริง
       
ข. ถ้าผู้เล่นอยู่ใกล้คู่แข่งขันเกินไปโดยไม่จำเป็นจะไม่ถือว่าคู่แข่งขันมีส่วน ให้เกิดอุบัติเหตุหรือเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ
          
ในกติกาข้อ 16.4.1 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องให้ผู้เล่นเล่นต่อหรือยอมแพ้ในเกมนั้นหรือพักแล้วเล่นต่อ หรือยอมแพ้ไปเลย
          
ในกติกาข้อ 16.4.2 กรรมการผู้ตัดสินจะให้เวลาผู้บาดเจ็บพักพอสมควร โดยคำนึงถึงกำหนดการของการแข่งขัน เมื่อสิ้นสุดเวลาพัก ผู้บาดเจ็บจะต้องเล่นต่อ หรือยอมแพ้ ถ้าเล่นต่อให้นับแต้มต่อจากตอนที่หยุดเล่น นอกจากกรณีที่หยุดเล่นข้ามวัน ในกรณีนี้อาจเริ่มจากแข่งขันและนับแต้มใหม่ตั้งแต่ต้น ถ้าคู่แข่งขันทั้งสองตกลงกันเช่นนั้น
          
ในกรณีของการบาดเจ็บตามกติกาข้อ  16.4.3 กรรมการผู้ตัดสินจะให้ ผู้บาดเจ็บเป็นผู้ชนะการแข่งขัน
    16.5 
กรรมการผู้ตัดสินจะนำกติกาข้อ 17 มาใช้บังคับกับผู้เล่นที่ทำให้การเล่นล่าช้าโดยไม่มีเหตุผล ความล่าช้าอาจเกิดขึ้นจาก
       16.5.1 
การเตรียมเสิร์ฟ หรือรับลูกเสิร์ฟอย่างล่าช้าเกินเหตุ
       16.5.2 
การโต้เถียงหรือโต้ตอบกรรมการผู้ตัดสินนานเกินเหตุ
       16.5.3 
ความล่าช้าในการกลับเข้าไปในคอร์ตหลังจากออกไปตามกติกาข้อ 16.2 และ 16
               
ความประพฤติในคอร์ต 
          
ถ้ากรรมการผู้ตัดสินเห็นว่า ผู้เล่นข่มขู่หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับคู่ต่อสู้ กรรมการ ผู้ชม หรือกระทำสิ่งอื่นใดที่ทำให้ภาพพจน์ของกีฬาสควอชเสีย ก็จะต้องลงโทษ
          
ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกาข้อ 12.5, 15.2 และ 15.3, 16.2 และ 16.3 หรือข้อกำหนดใน ISRF Code of Conduct กรรมการผู้ตัดสินอาจลงโทษดังนี้
          - 
เตือน (Conduct Warning)
          - 
ให้คู่แข่งขันชนะในลูกนั้น (Conduct Stroke)
          - 
ให้คู่แข่งขันชนะในเกมนั้น (Conduct Game)
          - 
ให้คู่แข่งขันชนะไปเลย (Conduct Match)

  
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน            ก. ถ้ากรรมการผู้ตัดสินสั่งให้หยุดเล่นเพื่อให้ผู้เล่นจะต้องให้เล่นลูกนั้นใหม่
           
ข. ถ้ากรรมการผู้ตัดสินสั่งให้หยุดเล่นเพื่อให้ผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะในลูกนั้น ให้ถือเสมือนว่าลูกนั้นได้เล่นจนจบ แต่ถ้ากรรมการผู้ตัดสินให้ผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ ในลูกต่อไป หลังจากลูกนั้นได้เล่นจบลงแล้ว จะไม่ต้องเปลี่ยนช่องเสิร์ฟ การให้ชนะในลูกต่อไปหรือการเล่นลูกสุดท้ายของเกมนั้น ให้นับในเกมต่อไป
           ค. ถ้ากรรมการผู้ตัดสินให้ชนะเกม ก็จะหมายถึงเกมที่กำลังเล่นอยู่หรือเกมต่อไปในกรณีที่ไม่ได้กำลังเล่นเกมอยู่ ในกรณีหลังไม่ให้นำข้อบังคับเกี่ยวกับการพักระหว่างเกมมาใช้บังคับ ผู้เล่นที่โดนลงโทษยังคงได้แต้มที่ได้ไปแล้ว ในเกมที่กรรมการผู้ตัดสินสั่ง ให้คู่แข่งขันชนะ
               
การควบคุมการแข่งขัน 
          
ในกรณีปกติกรรมการผู้ตัดสินเป็นผู้ควบคุมการแข่งขันโดยมีกรรมการผู้นับแต้ม เป็นผู้ช่วย กรรมการผู้ตัดสินกับกรรมการผู้นับแต้มอาจเป็นคนๆเดียวกันก็ได้เมื่อกรรมการได้ตัดสินอะไรแล้ว จะต้องประกาศให้ผู้เล่นทราบและกรรมการผู้นับแต้มจะขานซ้ำ และขานแต้มอีกครั้ง
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน 
          
ก. กรรมการผู้นับแต้มกับกรรมการผู้ตัดสินไม่ควรเป็นคนเดียวกัน
          
ข. ผู้เล่นไม่มีสิทธิ์ขอให้เปลี่ยนกรรมการผู้นับแต้มหรือกรรมการผู้ตัดสิน กรรมการผู้ตัดสินของการแข่งขัน (Tournament) เท่านั้นมีสิทธิ์เปลี่ยนกรรมการผู้นับแต้มหรือกรรมการผู้ตัดสินหลังจากที่การแข่งขันแต่ละคู่ (Match) ได้เริ่มขึ้นแล้ว

หน้าที่ของกรรมการผู้นับแต้ม      19.1 กรรมการผู้นับแต้มเป็นผู้สั่งให้เริ่มเล่นและจะขานแต้มโดยขานแต้มของ ผู้เสิร์ฟก่อน ให้กรรมการผู้นับแต้มขาน "Fault", "Foot Fault", "Out","Not Up" หรือ "Down" แล้วแต่กรณี และให้ประกาศซ้ำการตัดสินของกรรมการผู้ตัดสิน
     19.2 
ถ้ากรรมการผู้ตัดสินขานให้หยุดเล่น
        
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้นับแต้ม
        
ถ้ากรรมการผู้นับแต้ม มองไม่เห็นหรือไม่แน่ใจ ก็จะต้องไม่ขาน
     19.3 
ถ้าการเล่นหยุดลงและกรรมการผู้นับแต้มมองไม่เห็นหรือไม่แน่ใจให้ประกาศให้ผู้เล่นทราบ และขอให้กรรมการผู้ตัดสินชี้ขาด ถ้ากรรมการผู้ตัดสินชี้ขาดไม่ได้ให้เล่นลูกนั้นใหม่
     19.4 
ให้กรรมการผู้นับแต้มขาน "Hand Out" เพื่อประกาศการเปลี่ยนเสิร์ฟ
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้นับแต้ม 
        
กรรมการผู้นับแต้มจะต้องใช้คำขานที่ถูกต้องรวมทั้งกรณีที่การเล่นได้หยุดลงแล้ว
               
หน้าที่ของกรรมการผู้นับแต้ม      19.1 กรรมการผู้นับแต้มเป็นผู้สั่งให้เริ่มเล่นและจะขานแต้มโดยขานแต้มของ ผู้เสิร์ฟก่อน ให้กรรมการผู้นับแต้มขาน "Fault", "Foot Fault", "Out","Not Up" หรือ "Down" แล้วแต่กรณี และให้ประกาศซ้ำการตัดสินของกรรมการผู้ตัดสิน
     19.2 
ถ้ากรรมการผู้ตัดสินขานให้หยุดเล่น หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้นับแต้ม
          ถ้ากรรมการผู้นับแต้ม มองไม่เห็นหรือไม่แน่ใจ ก็จะต้องไม่ขาน
     19.3 
ถ้าการเล่นหยุดลงและกรรมการผู้นับแต้มมองไม่เห็นหรือไม่แน่ใจให้ประกาศให้ผู้เล่นทราบ และขอให้กรรมการผู้ตัดสินชี้ขาด ถ้ากรรมการผู้ตัดสินชี้ขาดไม่ได้ให้เล่นลูกนั้นใหม่
     19.4 
ให้กรรมการผู้นับแต้มขาน "Hand Out" เพื่อประกาศการเปลี่ยนเสิร์ฟ

 
หมายเหตุสำหรับกรรมการผู้นับแต้ม 
         
กรรมการผู้นับแต้มจะต้องใช้คำขานที่ถูกต้องรวมทั้งกรณีที่การเล่นได้หยุดลงแล้ว
ที่มา : 
http://www.gotoknow.org/blog/tigger/73377

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น